| HOME | หลักสูตร | ตารางเรียน | รวมความรู้ | Contactus | รวมลิงค์ | ข่าวเด่น | คลิปวีดีโอ | ท่องเที่ยว
| HOME | หลักสูตร | ตารางเรียน | หนังสือเรียน | รวมความรู้ | Contactus | รวมลิงค์ | webboard     

เพิ่มเพื่อน LINE อ.นุ้ย
   menu
     ประโยคภาษาจีนพื้นฐาน
     แนะนำพินอิน
     สำนวนจีนง่ายๆ
     สุภาษิตจีน
    เที่ยวเมืองจีน
    เนื้อเพลงจีน
     คำอวยพรวันตรุษจีน
      รวมความรู้
แนะนำคณะอาจารย์
     Poppy Yang เหล่าซือ
     อ.หญิง(Yang Meifang)
เกี่ยวกับจีน
สาระน่ารู้เกี่ยวกับจีน
เทศกาลตรุษจีน
เทศกาลหยวนเซียว
เทศกาลไหว้พระจันทร์

มาทำความรู้จัก GAT PAT ให้ดียิ่งขึ้น



GAT PAT คืออะไร จะเตรียมตัวอย่างไรเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553

GAT PAT ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ปี 2553

เนื่องจากสำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยถึงการจัดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) และความถนัดเฉพาะด้าน/วิชาการ (Professional A Aptitude Test หรือ PAT) พื่อใช้เป็นคะแนนในการนำไปสอบระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่นส์กลางว่า ตามที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติว่าการสอบแอดมิชชั่นส์ปี 2553 นั้นจะใช้สัดส่วนคะแนนดังนี้

1. ปี 2553 ทปอ. จะใช้องค์ประกอบต่อไปนี้ในการยื่น คะแนนเข้ามหาวิทยาลัย

1) GPAX 6 ภาคเรียน 20 %

2) O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30 %

3) GAT 10-50 %

4) PAT 0-40 %

รวม 100 %

หมายเหตุ

1. GPAX คือ ผลการเรียนเฉลี่ย สะสม 6 ภาคเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียน รู้

2. GAT คือ General Aptitude Test ความถนัดทั่วไป

3. PAT คือ Professional Aptitude Test ความถนัดเฉพาะ วิชาชีพ

2.รายละเอียดเกี่ยว กับ GAT

1. เนื้อหา

- การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์และการแก้โจทย์ ปัญหา(ทาง คณิตศาสตร์) 50%

- การสื่อสารด้วยภาษา อังกฤษ 50%

2. ลักษณะข้อสอบ GAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย

- คะแนนเต็ม 200 คะแนน เวลาสอบ 2 ชั่วโมง

- ข้อสอบ เน้น Content Free และ Fair

- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก

- มีการออกข้อสอบเก็บไว้เป็นคลังข้อ สอบ

3. จัดสอบปีละหลายครั้ง

- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด (จะสอบ ตั้งแต่ม. 4 ก็ได้)

3. รายละเอียดเกี่ยว กับ PAT

1. PAT มี 6 ชุด คือ

PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์

เนื้อหา เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion,Geometry, Trigonometry,Calculus ฯลฯ

ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills

PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์

เนื้อหา ชีววิทยา, เคมี, ฟิสิกส์, Earth Sciences, environment, ICT ฯลฯ

ลักษณะข้อสอบ Perceptual Ability, Sciences Reading Ability,Science Problem Solving Ability ฯลฯ

PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรม ศาสตร์

เนื้อหา เช่น Engineering Mathematics, EngineeringSciences,Life Sciences, IT ฯลฯ

ลักษณะข้อสอบ Engineering Aptitude i.e. Multidimensional Perceptual Ability, Calculation Skills, Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability

PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์

เนื้อหา เช่น Architectural Math and Science ฯลฯ

ลักษณะข้อสอบ Space Relations, Multidimensional Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ

PAT 5 วัดศักยภาพทาง ครุศาสตร์/ ศึกษาศาสตร์

เนื้อหา ความรู้ในเนื้อหาภาษา ไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม วิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ

ลักษณะข้อสอบ ครุ ศึกษา (Pedagogy), ทักษะการอ่าน (Reading Skills),ความรู้ทั่วไปเกี่ยว กับการศึกษาของประเทศไทย การแก้ปัญหาที่เกิดจากนัก เรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ

PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์

เนื้อหา เช่น ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) ความรู้ทั่วไปทาง ศิลป์ ฯลฯ

ลักษณะข้อสอบ ความคิดสร้าง สรรค์ ฯลฯ

"อย่างไรก็ตาม มีข้อเรียกร้องจากสมาคมฝรั่งเศสที่เสนอขอให้ ทปอ.จัดสอบเรื่องภาษาที่ 2 ด้วย ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน จีน และญี่ปุ่น เพื่อเป็นการวัดคุณภาพของเด็ก โดยจะขอให้เพิ่มเป็น PAT 7 และย่อยลงไปเป็น 7.1 , 7.2 ตามลำดับ แต่ ทปอ.เสนอว่าให้ทางสมาคมจัดสอบล่วงหน้าก่อนได้และให้กำหนดในเงื่อนไขแอดมิชชั่นว่าผู้ที่จะสอบในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับภาษาเหล่านี้จะต้องผ่านการสอนวัดความรู้ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีการมาเพิ่มเป็น PAT 7 สทศ.ก็ต้องมาทำการทบทวน PAT ทั้ง 6 ใหม่ ซึ่งก็จะยุ่งยากอีก"ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวและว่า สำหรับข้อสอบ PAT นั้นได้เชิญอาจารย์ทีเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาเป็นผู้ออกข้อสอบ โดย สทศ.จะอธิบายความต้องการ วัตถุประสงค์การออกให้ทราบ และเมื่ออาจารย์ออกข้อสอบเสร็จแล้วก้จะนำเข้าคลังข้อสอบในรอบแรกก่อนนำมาเข้ากระบวนการกลั่นกรองเพื่อเข้าคลังข้อสอบของ สทศ. ใหม่อีกครั้ง

2. ลักษณะข้อสอบ PAT จะเป็นปรนัย และอัตนัย

- คะแนนเต็มชุดละ 200 คะแนน เวลาสอบชุดละ 2 ชั่วโมง

- เน้นความซับ ซ้อน (Complexity) มากกว่า ความยาก

- มีการออกข้อสอบเก็บไว้ในคลังข้อ สอบ

3. จัดสอบเมื่อนักเรียนอยู่ชั้น ม.6 โดยจัดสอบปีละ 2 ครั้ง

- คะแนนใช้ได้ 2 ปี เลือกใช้คะแนนที่ดีที่ สุด

ขณะนี้ ทปอ.ได้มอบหมายให้ สทศ.เป็นผู้จัดสอบ GAT และ PAT ซึ่งในส่วนของ GAT มีการทดลองรูปแบบการสอบแล้ว โดยจะใช้การสอบทั้งแบบปรนัยและอัตนัย ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 300 คะแนน โดยนักเรียนสามารถสอบได้ 2-3 ครั้ง และเลือกคะแนนสอบครั้งที่ดีที่สุดไปใช้ โดยคะแนนจะเก็บไว้ได้ 2 ปี แต่เด็กต้องเสียค่าใช้จ่ายในการสอบเอง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มสอบได้ประมาณเดือนตุลาคม 2551 หรืออาจต้นปี 2552 เพื่อให้ใช้ทันแอดมิชชั่นปี 2553

สทศ.ต้องเตรียมเรื่องการออกข้อสอบ โดยได้ขอความร่วมมือจากอาจารย์มหาวิทยาลัยมาช่วยออกข้อสอบให้ นอกจากนี้ สทศ. ยังจะจัดสอบ B-NET ซึ่งเป็นแบบทดสอบความรู้ 5 ภาคเรียนของ ม.ปลาย เพื่อให้มหาวิทยาลัยนำไปใช้ในการรับตรง ซึ่งการที่ สทศ. ต้องจัดสอบ B-NET เพราะไม่ต้องการให้เด็กวิ่งรอกสอบหลายที่ ผอ.สทศ. กล่าว.

ที่มา : เดลินิวส์ , สยามรัฐ

 


PAOYI

รวมความรู้: ประโยคภาษาจีนพื้นฐาน แนะนำPinyin สำนวนจีนง่ายๆ สุภาษิตจีน บทความ เว็บบอร์ดจีน Travel Guide In Thailand
บันเทิง: เที่ยวเมืองจีน เนื้อเพลงจีน
โรงเรียนสอนภาษาพรรัตน์ (OEC SCHOOL)
ที่อยู่: 599/46 ถ.นนทรี แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
Tel: 086-334-1681 , https://www.facebook.com/oecschool , https://www.tiktok.com/@poppyyang88
https://www.youtube.com/@POPPYYANG8 E-mail: [email protected]
Copyright © 2007-2023 oecschool.com